หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV8


รายงานตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ .. 2560

        คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบดังนี้

        1. รับทราบรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2564 และรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ .. 2564 ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เสนอ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ปรากฏในรายงานผลการประเมินสถานการณ์ฯ แล้วแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการด้วย

        2. ให้ส่งความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักงานอัยการสูงสุด ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป

 

วิริยะ 720x100

 

        สาระสำคัญของเรื่อง 

        กสม. รายงานว่า

        1. รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2564 มีสาระสำคัญเกี่ยวกับภาพรวมสถานการณ์ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยแบ่งการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนออกเป็น 4 ด้าน 19 ประเด็นย่อย ประกอบด้วย

             1.1 ด้านสิทธิมนุษยชนในสถานการณ์เฉพาะ ได้แก่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และสถานการณ์ที่เกี่ยวกับการใช้เสรีภาพในการชุมนุม ปี 2564

             1.2 ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ได้แก่ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม (เช่น ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงการช่วยเหลือตามกฎหมายและการดำเนินคดีที่ล่าช้า) การกระทำทรมานและการบังคับให้สูญหาย (เช่น ยังไม่มีความคืบหน้าในการติดตามตัว) นักปกป้องสิทธิมนุษยชน (เช่น ไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน) สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (เช่น ยังคงมีสถานการณ์การก่อเหตุรุนแรงเกิดขึ้นเป็นระยะๆ) โทษประหารชีวิต (เช่น ยังคงมีการกำหนดโทษประหารชีวิตไว้ในกฎหมายหลายฉบับ) และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพของสื่อมวลชน (เช่น ยังคงมีการดำเนินคดีอันเนื่องมาจากการแสดงความคิดเห็น

             1.3 ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้แก่ สิทธิแรงงาน (เช่น การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ปัญหาแรงงานประมง) สิทธิในสุขภาพ (เช่น การเข้าถึงบริการสาธารณสุขของแรงงานข้ามชาติ การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์) สิทธิด้านการศึกษา (เช่น การจัดการศึกษารูปแบบออนไลน์เป็นเวลานานอาจมีผลกระทบต่อโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา การหลุดจากระบบการศึกษา) สิทธิชุมชนในการจัดการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (เช่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำในที่ดินทำกิน การจัดสรรที่ดินให้กับชุมชนล่าช้า) และธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (เช่น การนำเรื่องสิทธิมนุษยชนมาเป็นเงื่อนไขในการกำกับดูแลหรือส่งเสริมภาคธุรกิจ

             1.4 ด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มบุคคล ได้แก่ สิทธิเด็ก สิทธิผู้สูงอายุ สิทธิคนพิการ สิทธิสตรีและความเสมอภาคทางเพศ ผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ และสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์

 

aia 720 x100

 

        2. รายงานผลการปฏิบัติงาน กสม. ประจำปีงบประมาณ .. 2564 มีผลการดำเนินงานในภาพรวมสรุปได้ ดังนี้

             2.1 การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน จำนวน 153 เรื่อง โดยประเด็นที่มีการร้องเรียนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิในเสรีภาพและร่างกาย และสิทธิพลเมือง

              2.2 การจัดทำรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศ ปี 2563 ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 รับทราบรายงานดังกล่าวแล้ว

             2.3 การเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ในปี 2564 กสม. ได้มีรายงานข้อเสนอแนะฯ รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งใดๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนต่อคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 8 เรื่อง เช่น การแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 กระบวนการบริหารจัดการทะเบียนประวัติอาชญากร และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหรือผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน

             2.4 การสร้างเสริมทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชน เช่น การจัดอบรมเพื่อเสริมสร้างความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชนให้กับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ และการพัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและชุมชนในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

             2.5 การศึกษาวิจัยด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ สิทธิมนุษยชนกับการจัดการอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพ การคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนผู้ต้องขังสูงอายุ และการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในบริบทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารออนไลน์

             2.6 การส่งเสริมความร่วมมือการประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เช่น การเข้าร่วมประชุมกับสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาคเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนและปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศและในภูมิภาค

             2.7 การดำเนินงานของสำนักงาน กสม. ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2564 เป็นงบเงินอุดหนุน 211.73 ล้านบาท มีผลการใช้จ่ายงบประมาณรวมทั้งสิ้น 180.84 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 85

             2.8 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายใน 2 ประเด็น ได้แก่ (1) การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 247 (4) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย กสม. มาตรา 26 (4) บัญญัติให้ กสม. มีหน้าที่ในการชี้แจงและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องโดยไม่ชักช้าในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปนั้น คณะอนุกรรมการประเมินสถานะของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (Sub-Committee on Accreditation: SCA1) เห็นว่าหน้าที่และอำนาจดังกล่าวไม่สอดคล้องกับบรรทัดฐานการปฏิบัติหน้าที่ของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตามหลักการปารีส และอาจมีผลกระทบต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ทั้งที่อาจเกิดขึ้นจริงหรือที่เป็นการรับรู้ และ (2) กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้อำนาจแก่ กสม. ในการดำเนินการให้คู่กรณีทำความตกลงเพื่อประนีประนอมและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นหน้าที่ที่สอดคล้องกับหลักการปารีสและจะช่วยให้ กสม. สามารถแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ กสม. จะได้ประสานงานกับฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อันจะส่งผลให้ กสม. ทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

_______________________

1 SCA เป็นคณะอนุกรรมการภายใต้กรอบความร่วมมือเครือข่ายพันธมิตรระดับโลกว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทำหน้าที่ประเมินสถานะของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เป็นสมาชิก (ทั้งนี้ กสม. ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าว เมื่อปี 2547) เพื่อให้ได้มาตรฐานสอดคล้องกับหลักการปารีส ที่กำหนดกรอบการทำงานเชิงบรรทัดฐานในเรื่องสถานะ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ องค์ประกอบ และวิธีการปฏิบัติงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 14 มิถุนายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6398

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C J
PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!