หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV 7


ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-ภูฏาน ครั้งที่ 4 และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

        คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ไทย-ภูฏาน ครั้งที่ 4 และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 27-29 เมษายน 2565 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุมฯ เพื่อให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับภูฏานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ

        สาระสำคัญของเรื่อง

        พณ. รายงานว่า การประชุม JTC ไทย-ภูฏาน ครั้งที่ 4 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27-29 เมษายน 2565 จังหวัดภูเก็ต โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการภูฏาน เป็นประธานร่วม ซึ่งมีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้

        1. ผลการประชุมฯ

 

ประเด็น

 

สาระสำคัญ

1. ภาพรวมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ

 

ภูฏานเป็นคู่ค้าอันดับ 6 ของไทยในภูมิภาคเอเชียใต้ โดยในปี 2564 การค้าระหว่างไทยกับภูฏานมีมูลค่ารวม 66.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไทยได้เปรียบดุลการค้ากับภูฏานมูลค่า 66.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยขณะนี้ภูฏานได้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเพื่อยกระดับสู่ประเทศกำลังพัฒนาในปี 2566 ทำให้ภูฏาน ต้องเร่งแสวงหาตลาดการค้าใหม่ รวมทั้งเร่งพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานในประเทศเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและมีนโยบายดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

2. การส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกัน

 

2.1 เป้าหมายทางการค้า 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2568

2.2 ความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงสิทธิพิเศษทางการค้า (Preferential Trade agreement: PTA) ไทย-ภูฏาน ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้ริเริ่มการหารือและศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการจัดทำ PTA ไทย-ภูฏาน

2.3 การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้โครงการให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ระยะที่ 2 ภูฏานยังสามารถใช้สิทธิภาษีภายใต้โครงการดังกล่าวได้จนกว่าองค์กรสหประชาชาติจะประกาศให้ภูฏานพ้นจากรายชื่อประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ทั้งนี้ โครงการฯ ของไทยจะสิ้นสุดในปี 2569

2.4 การเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการค้า ไทยเชิญชวนให้นักธุรกิจและผู้ประกอบการภูฏานเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่ไทยจัดขึ้น เช่น งาน ThaiFEX-ANUGA Asia 2022 (งานแสดงสินค้าอาหารที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนของไทย) ระหว่างวันที่ 24-28 พฤษภาคม 2565 และการจัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าออนไลน์ระหว่างนักธุรกิจไทยกับภูฏานในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2565

3 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

 

3.1 ด้านการเกษตร ภูฏานจะส่งออกผลไม้ 3 รายการ ได้แก่ แอปเปิ้ล ส้ม และมันฝรั่ง มายังไทย ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) อยู่ระหว่างจัดทำผลการวิเคราะห์การปลอดศัตรูพืช ในขณะที่ไทยขอให้ภูฏานสนับสนุนการส่งออกสมุนไพรและยาแผนโบราณของไทย ซึ่งรวมถึงการขึ้นทะเบียน การเปิดตลาด และการอำนวยความสะดวกในการนำเข้า นอกจากนี้ไทยได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Geographical Indications: GI) ให้กับภูฏานด้วย

3.2 ด้านหัตถกรรม ไทยและภูฏานได้เห็นพ้องให้มีการต่ออายุบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านศิลปะหัตถกรรมระหว่างสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) กับกรมอุตสาหกรรมครัวเรือนภูฏาน อีก 5 ปี นับจากวันที่หมดอายุ (ฉบับเดิมหมดอายุเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564) โดยครอบคลุมความร่วมมือ 3 สาขา ได้แก่ งานไม้แกะสลัก งานไม้ไผ่ และอ้อย

3.3 ด้านการท่องเที่ยว ไทยและภูฏานได้เห็นพ้องให้มีการต่ออายุบันทึกความเข้าใจด้านการท่องเที่ยว อีก 5 ปี (ฉบับเดิมหมดอายุในเดือนมิถุนายน 2565) โดยไทยเสนอให้เพิ่มหน่วยงานของไทยอีก 1 หน่วยงาน คือ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ซึ่งจะเป็นการลงนามร่วมกันระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) และสภาการท่องเที่ยวภูฏาน โดยจะมุ่งเน้นการจัดทำรายการนำเที่ยวภายใต้แนวคิด “2 ราชอาณาจักร 1 จุดหมายปลายทางเน้นการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมวิถีชีวิตเรื่องอาหารและการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลกมายัง 2 ประเทศ

4. ประเด็นอื่นๆ

 

ไทยยินดีพิจารณาความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญาของไทยกับภูฏาน

5. การจัดกิจกรรมอื่นๆ

 

พณ. ได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงานและถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับแหล่งผลิตสินค้า GI รวมถึงการคัดเลือกสินค้าที่มีคุณภาพและตรงตามมาตรฐานของสินค้า GI ในจังหวัดภูเก็ต เช่น สับปะรดภูเก็ต

 

PTG 720x100

ais 720x100

 

        2. พณ. มีข้อคิดเห็นว่า การประชุม JTC ไทย-ภูฏาน ครั้งที่ 4 เป็นการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้มากขึ้น รวมทั้งเป็นการกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพร่วมกัน ได้แก่ การเกษตร หัตถกรรม และการท่องเที่ยว เพื่อผลักดันให้มูลค่าการค้าระหว่างกันให้บรรลุเป้าหมาย 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายใน 2568

        3. พณ. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมฯ มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่างๆ เช่น

 

ประเด็น

 

การดำเนินการที่สำคัญ เช่น

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

1. ด้านการส่งเสริมการค้าและการลงทุน

(1) เป้าหมายการค้า

 

ดำเนินการตามเป้าหมายทางการค้าที่ตั้งร่วมกัน คือ 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2568

 

พณ.

(2) การจัดทำ PTA

ไทย-ภูฏาน

 

ศึกษาผลประโยชน์และผลกระทบในการจัดทำ PTA

 

กระทรวงการคลัง (กค.) กษ. พณ. และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)

(3) การยกเลิกภาษีนำเข้าและการกำจัดปริมาณนำเข้าสำหรับประเทศพัฒนา

น้อยที่สุด

 

คงสิทธิประโยชน์ดังกล่าวจนกว่าองค์การสหประชาชาติจะประกาศให้ภูฏานหลุดออกจากรายชื่อประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

 

กค. และ พณ.

(4) การส่งเสริมการค้า

และการลงทุน

 

ส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างกันโดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าสมุนไพรของไทยและยาไทยแผนโบราณไปยังภูฏาน รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนในสาขาศักยภาพของไทยในภูฏาน เช่น การโรงแรม และการท่องเที่ยว

 

พณ. และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.)

2. ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

(1) ด้านการเกษตร

 

การส่งออกสินค้าของภูฏานมายังไทย เช่น ควินัว หน่อไม้ฝรั่ง และขิง ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช รวมทั้งจะพิจารณาการนำเข้าแอปเปิ้ล ส้ม มันฝรั่ง และน้ำผึ้งจากภูฏานซึ่งเป็นสินค้าควบคุมของไทย

 

กษ.

(2) ด้านหัตถกรรม

 

ต่ออายุบันทึกความเข้าใจด้วยการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านศิลปะหัตถกรรมฯ และส่งเสริมให้ภูฏานร่วมงานแสดงสินค้าหัตถกรรมของไทยใน 2565

 

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน)

(3) ด้านการท่องเที่ยว

 

ต่ออายุบันทึกความเข้าใจฯ ด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน ภายใต้แนวคิด “2 ราชอาณาจักร 1 จุดหมายปลายทาง

 

ททท. และองค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

3. ประเด็นอื่นๆ

ความร่วมมือสาขาอื่นๆ

 

พิจารณาความร่วมมือระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญาของไทยกับภูฏาน

 

พณ.

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 21 มิถุนายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6653

 Click Donate Support Web

วิริยะ 720x100

EXIM One 720x90 C J

aia 720 x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!