หมวดหมู่: พาณิชย์

1a 1ค่ากลั่น


พาณิชย์ แจง'พลังงาน'หน่วยงานหลัก มี 2 กฎหมายเฉพาะดูแล'ค่ากลั่น-น้ำมัน'

     ปลัดพาณิชย์ ชี้แจงประเด็นข้อเสนอให้ใช้พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการดูแลค่ากลั่น-ราคาน้ำมัน ยัน'พลังงาน'เป็นหน่วยงานหลัก เหตุมีกฎหมายเฉพาะดูแล ทั้ง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และพ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ชัดเจน ส่วน พาณิชย์ดูแลเรื่องการจำหน่ายไม่ตรงตามราคาที่กำหนด ยกตัวอย่าง ก๊าซ LPG พลังงานประกาศมาตลอด ใครขายเกินราคาจับ น้ำมันก็ต้องใช้หลักการนี้

      นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงประเด็นที่มีข้อเสนอให้กระทรวงพาณิชย์ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 เข้ามากำกับดูแลค่าการ กลั่นน้ำมันเพื่อช่วยให้ราคาขายปลีกน้ำมันลดลง ว่า เรื่องราคาน้ำมันที่กำลังมีคนชี้มาที่กระทรวงพาณิชย์ว่าเป็นผู้รับผิดชอบ ขอเรียนว่าไม่ใช่ โดยอำนาจหน้าที่ในเรื่องของราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นสินค้าเฉพาะ มีข้อกฎหมายเฉพาะในการกำกับดูแล จำนวน 2 ฉบับ จึงต้องใช้กฎหมายเฉพาะในการกำกับดูแล

      โดยกฎหมายที่กำกับดูแลราคาน้ำมันฉบับที่หนึ่ง คือ พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มาตรา 6(2) กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติไว้ว่า คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่วางหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดราคาพลังงาน โดยให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการพัฒนาและบริหารพลังงานของประเทศ ถ้าดูกฎหมายนี้จะเห็นว่าคนเกี่ยวข้องกับราคาพลังงานน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นการเฉพาะ คือ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นเลขานุการ) ซึ่งการกำหนดราคาหรือการวางหลักเกณฑ์เรื่องราคาน้ำมันเชื้อเพลิงต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาและบริหารพลังงานแห่งประเทศด้วย เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของกระทรวงพลังงาน

       ส่วนอีกฉบับ คือ พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมาตรา 5 ให้มีการจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในสถานการณ์วิกฤติน้ำมัน และมาตรา 27 กำหนดไว้ว่าใครเป็นผู้ต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมาตรา 27 (1) โรงกลั่น 27 (2) ผู้นำเข้า ก็จะเห็นอยู่แล้วว่ากองทุนมีหน้าที่อะไรในเวลาสถานการณ์วิกฤติ ใครควรเข้ามาบริหารจัดการและใครที่จะมีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุน การใช้อำนาจตามกฎหมายที่กระทรวงพลังงานรับผิดชอบกำกับดูแล ถือว่าเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายที่สุด

      นอกจากนี้ หากดูใน พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ท้ายกฎหมายจะเขียนไว้ด้วยว่า การบริหารพลังงานของประเทศ กระจัดกระจายตามหน่วยงานต่าง ๆ ดังนั้น เพื่อให้มีเอกภาพจึงได้จัดตั้ง คณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมาเพื่อให้การบริหารจัดการเรื่องพลังงานมีเอกภาพ กฎหมายชัดเจนที่สุด วัตถุประสงค์ ข้อกำหนด ที่มาเรื่องการมีกฎหมายฉบับนี้ ณ เวลานี้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจึงอยู่ตามกฎหมาย 2 ฉบับดังกล่าว เป็นการตอบคำถามหลายข้อโดยเฉพาะในสังคมโซเชียลมีเดีย ขอให้เข้าใจว่าไม่ได้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ตั้งแต่แรก

       สำหรับ ข้อสงสัยที่มีคนกล่าวอ้างว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน กกร.โดยตำแหน่ง และในกฎหมายกำหนด ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสินค้าควบคุม อยู่ในอำนาจของประธาน กกร. อยู่แล้ว ขอชี้แจงว่า ทุกวันนี้ LPG มีการประกาศราคาโดยกระทรวงพลังงาน กระทรวงพลังงานเป็นคนกำหนดราคา LPG ที่จะมีการปรับราคาขึ้นราคาเป็นขั้นบันไดว่า เดือนละเท่าไรต่อครั้ง เราจะเห็นว่ากระทรวงพลังงานเป็นคนประกาศ เป็นวิธีการบริหารโดยใช้กฎหมายที่มีอยู่ แต่พอมาราคาน้ำมันเหตุใดบางคนจึงมาบอกว่าให้กระทรวงพาณิชย์เป็นคนกำกับดูแล ซึ่งจริง ๆ กฎหมายกำหนดความรับผิดชอบอยู่ที่ใด ผู้นั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ไม่ควรที่ผู้ใดจะมาบิดเบือนหลักการนี้

      ทั้งนี้ หากถามว่ากระทรวงพาณิชย์ทำอะไรในเรื่องของ LPG หน้าที่กระทรวงพาณิชย์ คือ เมื่อกระทรวงพลังงานประกาศราคาออกมาแล้ว ใครขายเกินกว่านี้ กระทรวงพาณิชย์จับ โดยอาศัยมาตรา 29 คือ ผู้ใดจงใจจำหน่ายราคาสูงเกินสมควร มีโทษผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เช่น กระทรวงพลังงานแจ้งราคาถังละ 380 บาท ถ้าใครขาย 400 บาท กระทรวงพาณิชย์จับ เป็นต้น

 

 Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!