หมวดหมู่: เศรษฐกิจ

 

1743590240955


ตามรอยประวัติศาสตร์วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112

จั1งหวัดตราด บทเรียนแห่งการรักษาอธิปไตย และการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 นับเป็นหนึ่งในบททดสอบความอยู่รอดที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย เมื่อประเทศต้องเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักจากมหาอำนาจตะวันตก ด้วยความที่สยามในขณะนั้นยังขาดความพร้อมในหลายด้าน ทำให้เอกราชของชาติตกอยู่ในความเสี่ยง แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ไทย ประเทศชาติจึงยังคงรักษาอธิปไตยไว้ได้ แม้ต้องยอมสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นการแลกเปลี่ยนกับการได้จังหวัดจันทบุรีและตราดกลับคืนมา เป็นสัญลักษณ์แห่งความเพียรพยายามทางการทูตของบูรพกษัตริย์ไทยที่ปกป้องผืนแผ่นดินไว้ให้ลูกหลานในยามที่

1743590246728

 

ประเทศต้องเผชิญภัยคุกคามจากลัทธิล่าอาณานิคม เพื่อสืบสานบทเรียนอันทรงคุณค่านี้ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) จึงได้จัดโครงการ"ทิพยสืบสาน รักษาต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา" ครั้งที่ 50 นำคณะครูอาจารย์ และผู้สนใจ เดินทางสู่ดินแดนตะวันออก เพื่อตามรอยประวัติศาสตร์เรื่องเขตแดนที่มักถูกลืมเลือนไปจากตำราเรียน พร้อมทั้งศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนที่นำแนวพระราชดำริมาพลิกฟื้นความอุดมสมบูรณ์ให้ผืนดินและท้องทะเลแห่งตราด ด้วยความเชื่อที่ว่าความมั่นคงของชาติในองค์รวมมิใช่เพียงแค่การปกป้องดินแดน แต่ยังรวมถึงการดูแลทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืนสำหรับคนรุ่นต่อไปด้วย กิจกรรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการได้เดินทางไปยัง เกาะลิง บ้านบางปิดล่าง จังหวัดตราด ซึ่งเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาอธิปไตยของชาติไทย คณะผู้เข้าร่วมโครงการได้ศึกษาหมุดพรมแดนที่ฝรั่งเศสปักไว้ในช่วงวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ซึ่งเป็นเหตุการณ์

1743590264201

 

สำคัญที่สะท้อนถึงความพยายามของประเทศมหาอำนาจในการแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมุดพรมแดนแห่งนี้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นถึงการเจรจาและการดำเนินนโยบายทางการทูตอย่างชาญฉลาดของไทย ที่สามารถรักษาเอกราชและอธิปไตยเหนือดินแดนไว้ได้ในยุคล่าอาณานิคม วิทยากรได้บรรยายถึงความสำคัญของพื้นที่บริเวณนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นพรมแดนระหว่างไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส (ปัจจุบันคือประเทศกัมพูชา) ที่ถูกกำหนดขึ้นจาก "สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907" ลงวันที่ 23 มีนาคม ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2449) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการปักหมุดพรมแดนเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ของการยืนยันสิทธิเหนือดินแดนตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ คุณวิชชุดา ไตรธรรม ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

1743590267472

 

"ประวัติศาสตร์ของชาติกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ใช่เรื่องสองเรื่องที่แยกจากกัน แต่เป็นพันธกิจที่เชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้ง แผ่นดินไทยที่เรายืนอยู่วันนี้ มิใช่ผลมาจากความบังเอิญ หากแต่เป็นมรดกแห่งปณิธานและพระปรีชาสามารถของบูรพกษัตริย์ ผู้ทรงต่อสู้และปกป้องผืนแผ่นดินด้วยพลังปัญญาและการทูตอันชาญฉลาด การรักษาแผ่นดินมิได้หมายถึงเพียงการปกป้องอาณาเขตทางภูมิศาสตร์เท่านั้น หากยังหมายรวมถึงการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศที่เป็นรากฐานแห่งชีวิต การพัฒนาตามแนวพระราชดำริจึงเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติในมิติที่ลึกซึ้งและยั่งยืน เราในฐานะลูกหลานของแผ่นดิน มีหน้าที่สืบสาน ปกปักรักษา และพัฒนาให้มรดกอันล้ำค่านี้คงอยู่ตราบชั่วกาลนาน ไม่เพียงเพื่อตนเอง หากแต่เพื่อคนรุ่นต่อๆ ไป" นอกจากการศึกษาประวัติศาสตร์ที่เกาะลิง คณะฯยังได้เดินทางไปยังวิสาหกิจ

1743590268660

ชุมชนท่องเที่ยวบ้านธรรมชาติล่าง ตำบลคลองใหญ่ อำเภอแหลมงอบ ซึ่งเป็นชุมชนต้นแบบที่นำแนวทางศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้กิจกรรมสำคัญ อาทิ การทำผ้าย้อม 3 ป่า จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ป่าชุมชน ป่าชายเลน และป่าสมุนไพร ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรในพื้นที่โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกิจกรรมการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่นำหลัก 5R มาประยุกต์ใช้เพื่อลดปริมาณขยะและสร้างประโยชน์จากสิ่งที่ถูกมองว่าไร้ค่า โครงการฯ ยังนำคณะฯ เดินทางไปยังเกาะช้าง เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์การเสด็จประพาสต้นของพระมหากษัตริย์ถึง 3 รัชกาล ได้แก่ รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัยของรัชกาลที่ 5

 

พระองค์เสด็จประพาสเกาะช้างบ่อยครั้งที่สุด อีกทั้งยังได้เข้าสักการะวัดป่าโรงถ่าน กราบนมัสการหลวงตาขาว ญาณสิริ เพื่อร่วมสมทบทุนสร้างพระขาวกลางทะเลองค์ใหญ่ที่สุดในโลก หน้าตัก 38 เมตร สูง 43 เมตร พร้อมถวายพลอยหล่อพระพุทธปรินิพพาน จำลองจากกุสินารา ประเทศอินเดีย ฐานยาว 5.1 เมตร เพื่อเป็นการสร้างพุทธบารมีปกปักรักษาแผ่นดินไทย ชายแดนสยามภาคตะวันออก นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมเพื่อสังคมและการศึกษา อาทิ การมอบทุนการศึกษาและหนังสือจากโครงการ "อมรินทร์อาสา อ่านพลิกชีวิต" และกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ด้วยการปล่อยปูม้า 40 กิโลกรัมคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและสร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติ ทางโครงการฯ ยังได้จัดกิจกรรม Workshop และการบรรยายเกี่ยวกับศาสตร์พระราชา เพื่อการ

 

พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนในทุกมิติ จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานมูลนิธิธรรมดี และ อาจารย์อดุลย์ ดาราธรรม ที่ปรึกษาและอดีตนายกสมาคมนักเรียนเก่า AFS ประเทศไทย ผู้คิดค้นนวัตกรรมสื่อการสอนสำหรับเยาวชนในศตวรรษที่ 21 หรือ Interactive Board Game หนึ่งเดียวในโลก เพื่อผลักดันให้เกิดนวัตกรรมแบบก้าวกระโดด และเตรียมความพร้อมประเทศไทยสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายในปี 2030 โครงการทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) คุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ

 

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานพิษณุโลก สมาคมนักเรียนเก่า AFS ประเทศไทย และมูลนิธิธรรมดี โดยได้รับการสนับสนุนหนังสือจากโครงการอมรินทร์อาสาอ่านพลิกชีวิต อมรินทร์กรุ๊ป

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!