หมวดหมู่: Crypto

5039 Bitcast


เปิดมุมมองศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ ก.ล.ต. ปิดกั้น Exchange นอก ‘ปกป้องนักลงทุน’ หรือ ‘เปิดช่องให้มิจฉาชีพ’

          จากประเด็นร้อนที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ออกข่าวประชาสัมพันธ์ “ประสานหน่วยงานภาครัฐปิดกั้นช่องทางการเข้าถึงแพลตฟอร์มผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาต” โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจดังนี้..

          “ปิดกั้นช่องทางการเข้าถึงแพลตฟอร์มผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย” 

          “รวมทั้งเป็นการป้องกันมิให้มิจฉาชีพใช้เป็นช่องทางในการนำทรัพย์สินจากการกระทำผิดไปฟอกเงิน”

          “ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนที่ใช้บริการแพลตฟอร์ม เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีเวลาบริหารจัดการบัญชีก่อนที่จะไม่สามารถใช้บริการได้”

          “ก.ล.ต. ขอเตือนประชาชนและผู้ลงทุนให้ระมัดระวังการใช้บริการกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และยังมีความเสี่ยงที่จะถูกหลอกลวง (scam) รวมถึงความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน”

 

5039 Bitcast Supakrit

 

          นายศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท ไทย บิทแคสต์ จำกัด มีความเห็นในเรื่องนี้ว่า จากการประชุมของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเมื่อวันที่ 19 เมษายน มีมติให้ ก.ล.ต. จำเป็นต้องส่งข้อมูลผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาตให้กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) ซึ่งในข่าวประชาสัมพันธ์มีเพียง Binance และ Bybit ซึ่งเชื่อว่ายังมีผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลมีมากกว่าที่แจ้งไว้ โดยทั้ง Binance และ Bybit เคยมีกรณีกับ ก.ล.ต. ทั้งคู่

          เข้าใจว่า ก.ล.ต. พยายามที่จะเตือนนักลงทุน ก็ต้องขอชื่นชมในกระบวนการทำงาน แต่ก็มีหลายมุมที่กระทบต่อความรู้สึกนักลงทุนที่ออกมาต่อต้าน สืบเนื่องจากในอดีต กรณี Zipmex ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต มีปัญหาและยังไม่คลี่คลาย ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ไข ส่วนตัวก็อยากให้เข้าใจนักลงทุนเห็นใจ ก.ล.ต. ว่าเรื่องในอดีตที่ต้องแก้ไขก็ต้องแก้ไข ส่วนเรื่องในอนาคตที่ต้องป้องกันก็ต้องหาทางป้องกัน ไม่ให้ ก.ล.ต. ทำอะไรเลยคงไม่ได้

          อย่างไรก็ตาม ยังไม่เห็นด้วยกับแนวทางการปิดกั้นดังกล่าว และในเอกสารของ ก.ล.ต. ควรแยกเรื่อง ปิดกั้นการเข้าถึงแพลตฟอร์ม และการฟอกเงินออกจากกัน และมองว่าขอบเขตและอำนาจหน้าที่ของ ก.ล.ต. คือผู้ที่ออกใบอนุญาตให้กับศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Exchange ในประเทศไทย ซึ่งกรณีนี้ตรงกับขอบเขตอำนาจ แต่การกล่าวถึงเรื่องการฟอกเงิน มองว่ายังไม่ถูกตัวถูกฝาสักเท่าไหร่ แต่ก็เข้าใจว่าเป็นบทบาทและหน้าที่ของ ก.ล.ต. ซึ่งอยู่ในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ก็มีความจำเป็นต้องดำเนินการตามมติ ส่วนตัวมองว่าการดำเนินการเรื่องหนึ่งเพื่อผลลัพธ์สองวัตถุประสงค์ถ้ามันไม่เกี่ยวข้องกันจริงๆ มันจะสื่อสารออกมาได้ยาก และเห็นว่ากระบวนการนี้ตอบแค่เรื่องเดียวคือเรื่องบังคับใช้ทางกฎหมายซึ่งส่วนตัวคิดว่าห้ามไม่ได้จริง ทำได้แค่เพียงให้เห็นเชิงสัญลักษณ์หรือพูดง่ายๆ คือแค่ตีตราว่าเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลนี้เถื่อนนั่นเอง

          ทั้งนี้ การปิดกั้นเว็บ Exchange นอกมีเหตุผลตามที่ ก.ล.ต. แจ้งไว้คือ จะช่วยลดปัญหามิจฉาชีพ มองว่ายังไม่มีงานวิจัยที่มีข้อมูลออกมาเป็นตัวเลขที่จะมายืนยันได้ ซึ่งความเป็นจริงคนที่คิดจะฟอกเงิน การปิดกั้นไม่สามารถจัดการได้ นอกจากนี้ จากการปิดกั้น 2 แบรนด์นี้ คาดว่าจะมีกลุ่มคนที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดคือ “มิจฉาชีพ” ที่จะใช้จังหวะนี้แทรกเข้าไปในกลุ่มคนที่กำลังเดือดเนื้อร้อนใจกับการที่จะต้องโอนย้าย สติในการที่จะคิดก็น้อยลง ใครมาชักชวนอะไรก็จะง่ายขึ้น

          หากปิดกั้น 2 แบรนด์นี้ Exchange ไทยจะได้ประโยชน์?? เหตุผลนี้ผมก็เห็นต่าง เนื่องจาก Feature หรือ Function ของ Exchange ไทย ไม่ตอบโจทย์ ส่วนตัวคิดว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นแทนก็คือคนจะย้ายไป Exchange นอก ที่มี Feature คล้ายๆ กันและไม่โดนปิดกั้น ส่วน Exchange ไทยก็จะได้หน้าใหม่ซึ่งต่อให้ไม่มีเรื่องนี้ก็จะได้หน้าใหม่อยู่แล้ว แนวทางการแก้ปัญหาคือ หากมองว่า P2P เป็นช่องทางที่มีการฟอกเงิน ก็ควรจะแก้ปัญหาที่ตรงประเด็นที่ P2P เพราะการปิดกั้น ถือเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการเลือกซื้อขายในช่องทางที่มีสภาพคล่องที่สูงกับคนที่ไม่ได้ทำผิดอะไร

          ผมเชื่อว่าภาครัฐพยายามที่จะปกป้องนักลงทุนโดนการปิดกั้นไม่ให้เจอ Scam แต่ความเป็นจริงเราไม่สามารถควบคุมได้ สิ่งสำคัญคือการให้ความรู้ ให้ข้อมูลความเสี่ยง เพราะพวกที่เป็น Scam เปลี่ยนรูปแบบตลอดเวลา การปิดกั้นจะทำให้นักลงทุนตามไม่ทันรูปแบบของการหลอกลวงของเหล่า Scamer แนะนำการแก้ปัญหาเรื่องนี้ต้องเริ่มด้วยการเปิดใจคุยกันและภาครัฐต้องอาศัยความเชี่ยวชาญจากคนในอุตสาหกรรม ช่วยกันสอดส่อง ดูแลและป้องกัน 

          VPN คือคำตอบจริงหรือไม่?? VPN ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการปิดกั้นให้กับนักลงทุน แต่ตัว VPN เองก็มีความเสี่ยงหากถูกผู้ประกอบการดักข้อมูล วิธีแก้ในระยะยาวมันเป็นเรื่องของวิธีคิดของคนในยุคปัจจุบันในโลกอินเทอร์เน็ตที่เราต้องปลูกฝังให้ทุกคนรู้ว่า เราไม่สามารถไว้ใจใครได้ 100% แม้ว่าจะมีหน่วยงานที่คอยกำกับดูแล แต่ก็อาจดูแลได้ไม่ครอบคลุมทุกคน ทุกเรื่อง พื้นฐานคือทุกคนจะต้องพึ่งพาตัวเอง หาวิธีที่จะยืนยันให้ได้ว่าสิ่งที่เราคิดเป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะในโลกของอินเทอร์เน็ตถูกสร้างขึ้นมาได้ทุกอย่าง ทุกคนจึงควรมีทักษะเรื่อง Cyber Security เข้าใจเรื่องการยืนยันตัวตน เข้าใจเรื่อง Private Key เพื่อที่จะเอาตัวรอด และปกป้องจาก Scam ในอินเทอร์เน็ต สำคัญที่สุดคือต้องมีความตระหนักรู้ มีสติในโลกของ Cyber 

 

 

5039

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

CKPower 720x100

TOA 720x100

Banner GPF720x100 PX

EXIM One 720x90 C J

QIC 720x100

kbank 720x100 66

วิริยะ 720x100

MTL 720x100

AXA 720 x100

gen 720x100

hino2021

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!