หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV V


ร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยทางรังสีสำหรับเครื่องกำเนิดรังสีที่ต้องแจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ พ.ศ. ....  - กำหนด

 

     หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางรังสีเพื่อให้ผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีตามมาตรา 26/2 ต้องปฏิบัติ โดยกำหนดให้ความปลอดภัยทางรังสี หมายถึง การป้องกันประชาชนและสิ่งแวดล้อมจากความเสี่ยงทางรังสี และความปลอดภัยของสถานประกอบการหรือกิจกรรมใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงจากรังสี ทั้งที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามปกติและเกิดจากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ใด ๆ อันอาจคาดหมายได้

    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางรังสีให้ผู้แจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีตามมาตรา 26/2 ต้องปฏิบัติในเรื่องดังต่อไปนี้

   (1) การดำเนินการด้านควบคุมความปลอดภัยทางรังสี โดยต้องจัดให้มีมาตรการด้านความปลอดภัยทางรังสี อุปกรณ์ เครื่องใช้ เช่น การจัดให้มีอุปกรณ์บันทึกปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลที่เหมาะสมกับชนิดของรังสีที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน

   (2) สัญลักษณ์เตือนภัยจากรังสี เช่น ต้องติดตั้งเครื่องหมายสัญลักษณ์ทางรังสีที่เห็นได้ชัดเจนที่จุดทางเข้าพื้นที่ควบคุมและพื้นที่ตรวจตรา เครื่องกำเนิดรังสีและตำแหน่งอื่นที่เหมาะสม

   (3) ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี เช่น ห้ามไม่ให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบหกปี เข้าไปในพื้นที่ควบคุมและพื้นที่ตรวจตราหรือปฏิบัติงานใด ๆ เกี่ยวกับรังสี

   (4) จำกัดปริมาณรังสี (dose limit) เช่น การควบคุมดูแลให้ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ได้รับรังสีน้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถดำเนินการได้อย่างสมเหตุสมผลตามมาตรฐานการปฏิบัติงานนั้น ๆ และต้องได้รับรังสีไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ในร่างกฎกระทรวงนี้

  1.        เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดที่ตั้ง สภาพแวดล้อม ลักษณะของสถานที่ และเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ที่จำเป็นประจำสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ….

         คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดที่ตั้ง สภาพแวดล้อม ลักษณะของสถานที่ และเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ที่จำเป็นประจำสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

  1. กำหนดให้ที่ตั้งของสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ต้องสะอาด ปราศจาก

     สิ่งรกรุงรัง หรือแหล่งสะสมของขยะ เชื้อโรค สัตว์พาหะ ฝุ่นละออง และมลพิษ หากที่ตั้งของสถานที่ดำเนินการเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ ไม่มีเส้นทางการคมนาคม ไม่สามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคที่จำเป็นได้ อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด เป็นพื้นที่ใกล้กับแหล่งที่มาของเชื้อโรค มลพิษ เสียง ความสั่นสะเทือน หรือมีลักษณะอื่นใดที่อาจทำให้ไม่เหมาะสมต่อการดำเนินการ ให้ผู้รับผิดชอบสถานที่ดำเนินการชี้แจงเหตุผลความจำเป็นในการตั้งสถานที่ดำเนินการนั้น พร้อมแผนหรือมาตรการจัดการ 

  1.    กำหนดให้สถานที่ดำเนินการต้องมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับ (1) ลักษณะงานทางวิทยาศาสตร์ (2) ประเภท ชนิด สายพันธุ์ จำนวน และพฤติกรรมของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (3) วิธีการเลี้ยงหรือระบบการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (4) การป้องกันการติดเชื้อ การควบคุมสภาพแวดล้อม

   การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค สารพิษ มลพิษ จากการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และ

(5) เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  1.      กำหนดให้สถานที่ดำเนินการสำหรับสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ประเภทสัตว์ทดลองต้องมีระบบการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ระบบอนามัยเข้ม (Strict Hygienic Conventional System) ระบบปลอดเชื้อก่อโรคจำเพาะ (Specified Pathogen Free System) ระบบปลอดเชื้อสมบูรณ์ (Germ Free System) และระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในการเลี้ยงสัตว์ (Animal Biosafety) ระบบใดระบบหนึ่งหรือหลายระบบ
  1.         สถานที่ดำเนินการต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้บุคคล ยานพาหนะ ที่ไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงสิ่งรบกวนและสัตว์อื่นเข้าไปภายในสถานที่หรือบริเวณต้องห้าม และไม่ให้สัตว์ที่เลี้ยงไว้หลุดออกไปภายนอกได้
  2. เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินการต่อสัตว์ เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ประจำสถานที่ดำเนินการต้องมีลักษณะและจำนวนที่เหมาะสมกับวิธีการเลี้ยง หรือระบบการเลี้ยง ประเภท ชนิด จำนวนของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และลักษณะของงานทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง โดยให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
  3. กำหนดให้ผู้รับผิดชอบสถานที่ดำเนินการต้องจัดให้มีการประเมินความเสี่ยง แผนจัดการความเสี่ยง และแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือภัยธรรมชาติไว้ให้ชัดเจน และมีการซักซ้อมอย่างสม่ำเสมอ

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 ธันวาคม 2562

        สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

******************************************

โลโก้เส้นพูดเบาและรวดเร็วไลค์ 1 แชร์ 3ถูกใจ 1 คนแชร์ 1กด  L Ike - แบ่งปัน  เพจเวลา Corehoon-Powerเพื่อติดตามเคล็ดลับข่าวสารเทรนด์และ บทวิเคราะห์ดีๆอัพเดตทุกวันคัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ  

 คลิกบริจาคเว็บสนับสนุน

ais 790x90GC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!