หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov แพทองธาร10

ขออนุมัติดำเนินโครงการปรับปรุงคลองชักน้ำแม่น้ำยมฝั่งขวา จังหวัดสุโขทัย

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทานดำเนินโครงการปรับปรุงคลองชักน้ำแม่น้ำยมฝั่งขวา จังหวัดสุโขทัย ภายในกรอบวงเงิน 3,557,000,000 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - พ.ศ. 2573) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.) ทั้งนี้ ขอให้ปฏิบัติตามมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการฯ ขอให้กรมชลประทานจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ตามความสามารถในการใช้จ่ายและการก่อหนี้ผูกพันภายในปีงบประมาณ ที่สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอย่างเคร่งครัดเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง

          ปัจจุบันพื้นที่ลุ่มน้ำยมยังไม่สามารถบริหารจัดการภายในลุ่มน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่สามารถสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำขนาดใหญ่บริเวณตอนบนของลุ่มน้ำยม ส่งผลให้เกิดปัญหาอุทกภัยในฤดูน้ำหลากและปัญหาภัยแล้งเป็นประจำโดยเฉพาะในพื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ำยม ซึ่งมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นทุกปี รวมทั้งสร้างความเสียหายไม่น้อยกว่าปีละ 100 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำยม จังหวัดสุโขทัย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) โดยกรมชลประทานจึงได้วางแผนการดำเนินโครงการ 2 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการปรับปรุงคลองยม - น่าน จังหวัดสุโขทัย [ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 และปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการ] และ (2) โครงการปรับปรุงคลองชักน้ำแม่น้ำยมฝั่งขวา จังหวัดสุโขทัย (โครงการฯ) (กษ. เสนอคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้) โดยเป็นการตัดยอดน้ำบางส่วนออกจากแม่น้ำสายหลักและควบคุมปริมาณน้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองสุโขทัยให้คงเหลือประมาณ 550 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งเพียงพอกับศักยภาพของแม่น้ำยมในบริเวณตัวเมือง

          กษ. รายงานว่า

          1. ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมที่ไหลผ่านอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีปริมาณเฉลี่ย 1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยปัจจุบันการบริหารจัดการน้ำของแม่น้ำยมผ่านจังหวัดสุโขทัย จะใช้ประตูระบายน้ำแม่น้ำยม (บ้านหาดสะพานจันทร์) ซึ่งเป็นประตูระบายน้ำแบบประตูบานโค้ง (Radial Gate) ขนาด 12.00 X 10.25 เมตร จำนวน 5 ช่อง สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 1,804 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำหน้าที่ควบคุมการระบายน้ำลงสู่ด้านท้ายน้ำให้สมดุลเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ด้านเหนือน้ำ ร่วมกับการระบายน้ำเข้าพื้นที่ฝั่งซ้าย และฝั่งขวา ดังนี้

              1.1 ระบายน้ำผ่านคลองสาขา ในอัตรา 250 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

              1.2 ระบายน้ำเข้าพื้นที่ฝั่งซ้าย ผ่านประตูระบายน้ำคลองหกบาทเข้าสู่คลองหกบาทในอัตรา 250 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยแบ่งการระบายน้ำออกเป็น 2 ทาง ได้แก่ (1) ระบายน้ำไปสู่คลองยม - น่าน ในอัตรา 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และ (2) ระบายน้ำไปสู่แม่น้ำยมสายเก่าในอัตรา 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

              1.3 ระบายน้ำเข้าพื้นที่ฝั่งขวา ผ่านประตูระบายน้ำคลองน้ำโจน (คลองชักน้ำแม่น้ำยมฝั่งขวา) ในอัตรา 20 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

              ดังนั้น ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมจะไหลผ่านตัวเมืองสุโขทัยเกินกว่าความสามารถที่แม่น้ำยมในบริเวณดังกล่าวจะรองรับได้ 550 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ปริมาณน้ำไหลผ่าน 880 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ประกอบกับแม่น้ำยมเป็นแม่น้ำสายหลักเพียงสายเดียวที่ยังไม่สามารถบริหารจัดการภายในลุ่มน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดปัญหาอุทกภัยเป็นประจำทุกปี อีกทั้งสภาพภูมิประเทศทางตอนกลางและตอนล่างของแม่น้ำยมมีสภาพลำน้ำแคบกว่าตอนบนทำให้เมื่อเกิดฝนตกหนักน้ำจากทางตอนบนจะไหลบ่าลงมาตอนกลางและตอนล่างอย่างรวดเร็ว เข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและพื้นที่เศรษฐกิจ เช่น เทศบาลเมืองสุโขทัย ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายไม่น้อยกว่าปีละ 100 ล้านบาท รวมทั้งไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่ออุปโภค - บริโภค และทำเกษตรกรรมได้อย่างเพียงพอในฤดูแล้ง โดยเฉพาะลุ่มน้ำยมตอนล่างในเขตพื้นที่จังหวัดสุโขทัย จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดพิจิตรที่มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น

          2. เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำยม จังหวัดสุโขทัยและช่วยให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมที่ไหลผ่านตัวเมืองสุโขทัยคงเหลือประมาณ 550 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งเพียงพอกับศักยภาพของแม่น้ำยมในบริเวณตัวเมืองสุโขทัย กรมชลประทานได้วางแผนการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนี้

              2.1 โครงการปรับปรุงคลองยม - น่าน จังหวัดสุโขทัย เป็นการปรับปรุงเพื่อให้สามารถระบายน้ำเข้าพื้นที่ฝั่งซ้าย ผ่านประตูระบายน้ำคลองหกบาท เข้าสู่คลองหกบาท ในอัตรา 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยแบ่งการระบายน้ำออกเป็น 2 ทาง ได้แก่ (1) ระบายน้ำไปสู่คลองยม - น่าน ในอัตรา 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และ (2) ระบายน้ำไปสู่คลองยมเก่าในอัตรา 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที [คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 อนุมัติการดำเนินโครงการปรับปรุงคลองยม - น่าน จังหวัดสุโขทัย วงเงิน 2,875 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2567) แล้ว ทั้งนี้ ในปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง]

              2.2 โครงการฯ เป็นการปรับปรุงคลองตลอดความยาว 54.65 กิโลเมตร ให้สามารถระบายน้ำได้ในอัตรา 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (กษ. ขอเสนอคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้) เนื่องจากที่ผ่านมาคลองชักน้ำแม่น้ำยมฝั่งขวามีสิ่งกีดขวางทางน้ำและลำน้ำแคบเป็นคอขวดหลายจุดทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้ตามวัตถุประสงค์ จึงต้องมีการปรับปรุงและระบายน้ำลงแก้มลิงทุ่งทะเลหลวงที่มีพื้นที่แก้มลิง 3,850 ไร่ ความจุ 32.40 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปริมาณน้ำที่ไหลลงแก้มลิงทุ่งทะเลหลวงจะระบายลงแม่น้ำยมด้านท้ายตัวเมืองสุโขทัย

          3. โครงการฯ มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

 

รายละเอียด

วัตถุประสงค์

 

(1) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำจากแม่น้ำยมที่ไหลเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ในอำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง และอำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดวัดสุโขทัย

(2) เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำในคลองสำหรับการอุปโภค - บริโภค และเกษตรกรรม

ที่ตั้งโครงการฯ

 

ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสุโขทัย จำนวน 12 ตำบล (3 อำเภอ) ได้แก่ ตำบลป่ากุมเกาะ ตำบลวังพิณพาทย์ ตำบลวังไม้ขอน ตำบลนาทุ่ง ตำบลหนองกลับ ตำบลเมืองบางขลัง (อำเภอสววรรคโลก) ตำบลบ้านซ่าน ตำบลบ้านไร่ ตำบลวังใหญ่ ตำบลทับผึ้ง (อำเภอศรีสำโรง) ตำบลบ้านกล้วย ตำบลบลปากแคว (อำเภอเมืองสุโขทัย)

ลักษณะโครงการฯ

 

(1) ปรับปรุงคลองตามแนวร่องน้ำเดิมหรือทางน้ำธรรมชาติ ตลอดความยาว 54.65 กิโลเมตร ดังนี้

 

ช่วงหลักกิโลเมตร

ความยาว (กิโลเมตร)

ความสามารถในการระบายน้ำ

(ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที)

0+000 ถึง 5+835

5.87

100

5+835 ถึง 17+345

11.51

200

17 +345 ถึง 30+495

13.15

250

30 + 495 ถึง 47+755

17.26

300

47+755 ถึง 54+647

6.89

350

 

(2) ก่อสร้างถนนคันคลองทั้ง 2 ฝั่ง และปรับปรุงอาคารประกอบตามแนวคลองจำนวน 89 แห่ง

ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ

 

6 ปี (ปีงบประมาณ .. 2568-2573)

วงเงินงบประมาณ

 

3,557 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น

หน่วย : ล้านบาท

ปีงบประมาณ ..

รวม

2568

2569

2570

2571

2572

2573

347.329

539.115

1,194.495

504.060

459.586

512.415

3,557.000

 

สถานภาพของโครงการฯ

 

(1) ด้านการศึกษาความเหมาะสม ดำเนินการศึกษาวางโครงการพิเศษ (Special Study Report) และทบทวนผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์แล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม .. 2566

(2) ด้านการสำรวจ - ออกแบบ ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน .. 2566

(3) ด้านการจัดหาที่ดิน จำเป็นต้องดำเนินการจัดหาที่ดินเพิ่มเติมจากพื้นที่แนวคลองเดิม จำนวน 850 แปลง เนื้อที่ 1,386 ไร่ 3 งาน 35 ตารางวา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมในการเสนอขอตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน

(4) ด้านการรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมกับประชาชน กรมชลประทานได้ประชาสัมพันธ์จัดให้มีมวลชนสัมพันธ์ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนการศึกษาความเหมาะสมของโครงการและขั้นตอนการสำรวจออกแบบโดยให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนเพื่อนำไปสู่การกำหนดรูปแบบของโครงการโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งประชาชนเห็นด้วยกับการพัฒนาโครงการ ทั้งนี้ ในขั้นตอนระหว่างการก่อสร้างจะได้ดำเนินการชี้แจงและสร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่องภายใต้แผนอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

การวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์

 

ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์ (ระดับอัตราคิดลดที่ร้อยละ 9) ดังนี้

(1) อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) เท่ากับร้อยละ 9.09

(2) มูลค่าปัจจุบันตอบแทนสุทธิ (NPV) เท่ากับ 24.28 ล้านบาท

(3) อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (B/C Ratio) เท่ากับ 1.01

ทั้งนี้ การวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์ได้พิจารณาตามหลักเกณฑ์การพิจารณาความเหมาะสมในการลงทุนโครงการของภาครัฐซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้กำหนดไว้ว่า หากโครงการมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอยู่ในช่วงร้อยละ 9-12 ถือว่า มีความเหมาะสมในการลงทุน

ผลกระทบของโครงการฯ

 

การดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ จะทำให้เกิดผลกระทบต่อที่ดินและทรัพย์สินของประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่โครงการฯ ซึ่ง กษ. โดยกรมชลประทาน ได้เตรียมมาตรการในการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินและทรัพย์สินรวมไว้ในแผนงานโครงการแล้ว

ประโยชน์ของโครงการฯ

 

(1) ช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ครอบคลุม 12 ตำบล 3 อำเภอ 30 หมู่บ้าน โดยควบคุมปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านพื้นที่เศรษฐกิจ สามารถป้องกันน้ำท่วมเมืองสุโขทัย ลดพื้นที่น้ำท่วมจังหวัดสุโขทัยลงได้170,189 ไร่ และลดความเสียหายได้ประมาณปีละ 100 ล้านบาท

(2) เป็นแหล่งเก็บกักน้ำในบริเวณคลองชักน้ำแม่น้ำยมฝั่งขวา โดยมีพื้นที่รับประโยชน์ช่วงฤดูฝน 35,000 ไร่ และช่วงฤดูแล้ง 9,300 ไร่

(3) ประชาชนมีสภาพเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 1 ตุลาคม 2567

 

 

1071

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX


TOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!