หมวดหมู่: บริษัทจดทะเบียน

TU TH


TU ไทยยูเนี่ยน โกยยอดขายปี 2567 ทะลุ 1.38 แสนล้านบาท กวาดกำไรสุทธิ 5 พันล้านบาท พร้อมไฟเขียวจ่ายปันผล 0.35 บาทต่อหุ้น

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU รายงานผลประกอบการดำเนินงานประจำปี 2567 ด้วยยอดขายรวมกว่า 138,433 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.7 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยได้แรงหนุนจากการเติบโตของกลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง และกลุ่มธุรกิจสินค้าเพิ่มมูลค่าและอื่นๆ ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นขยายตัวถึง 18.5 เปอร์เซ็นต์

TU THซึ่งเป็นไปตามแผนการเพิ่มความสามารถในการทำกำไรที่ตั้งเป้าไว้ที่ 23 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2573 ส่วนกำไรสุทธิ อยู่ที่ 4,985 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.2 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่งผลให้กำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 1.08 บาท เพิ่มขึ้นถึง 12.7 เปอร์เซ็นต์ จากปีก่อน นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ประกาศจ่ายเงินปันผลงวดครึ่งปีหลังที่ 0.35 บาทต่อหุ้น ส่งผลให้ปี 2567 ไทยยูเนี่ยนจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 0.66 บาท คิดเป็นสัดส่วนการจ่ายเงินปันผล 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นอัตราส่วนของเงินปันผลต่อราคาหุ้น 5.7 เปอร์เซ็นต์ ตอกย้ำศักยภาพในการดำเนินธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง

นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “สำหรับภาพรวมธุรกิจของไทยยูเนี่ยนในปี 2567 เป็นปีที่สร้างผลงานได้ดีทั้งด้านยอดขาย และการเติบโตของอัตรากำไรขั้นต้นที่ 18.5 เปอร์เซ็นต์เป็นผลจากการเติบโตของกลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป

รวมถึงกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจอาหารแช่แข็ง ที่มีการปรับพอร์ตผลิตภัณฑ์ให้มีอัตรากำไรดีขึ้น เช่นเดียวกับกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ที่ขยายตัวได้ดีมากจากกลยุทธ์เพิ่มสัดส่วนการขายสินค้ากลุ่มพรีเมียม และสถานการณ์ของสินค้าคงคลังที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ ในปี 2567 ไทยยูเนี่ยนได้เปิดตัว 'กลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่ปี 2573' โร้ดแม็ปใหม่เพื่อสร้างการเติบโตครั้งสำคัญ พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้นำระดับโลกในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพจากท้องทะเล โดยมีสองโปรเจกต์ทรานฟอร์มเมชั่น ได้แก่ โปรเจกต์โซนาร์ (Project Sonar)

ซึ่งเป็นโครงการทรานส์ฟอร์เมชั่นของกลุ่มบริษัท มุ่งวางรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการเติบโตในระยะยาว และโปรเจกต์เทลวินด์ (Project Tailwind) มุ่งเน้นที่การเร่งการเติบโตในกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงเป็นหลัก ส่งผลให้กลุ่มบริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายของโครงการทรานฟอร์มเมชั่น ที่มีนัยสำคัญ หากไม่รวมค่าใช้จ่ายดังกล่าว กำไรสุทธิในปี 2567 จะอยู่ที่ 5,685 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.3 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อน

ในปี 2567 บริษัทฯ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการบริหารธุรกิจ ทำกำไร และมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง โดยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี 0.94 เท่า มีกระแสเงินสดสูงถึง 11,705 ล้านบาท จาก EBITDA ที่แข็งแกร่ง 13,361 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งสูงสุดเป็นอันดับสองในประวัติการณ์ตลอดจนความสามารถในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้ทำให้ไทยยูเนี่ยนมีความคล่องตัวและสามารถสร้างโอกาสสำหรับการลงทุนในอนาคตได้

สำหรับ ภาพรวมการดำเนินธุรกิจในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 พบว่า ยอดขายปรับตัวลดลงราว 1.2 เปอร์เซ็นต์ จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน 3.1 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ดีการเติบโตจากการดำเนินงานตามปกติยังคงเติบโตที่ 1.9 เปอร์เซ็นต์ เป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน สำหรับ อัตรากำไรขั้นต้นยังคงขยายตัวอยู่ที่ 18.7 เปอร์เซ็นต์

สะท้อนถึงการฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง ส่วนกำไรสุทธิ อยู่ที่ 1,213 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 18.7 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อน จากค่าใช้จ่ายการดำเนินกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่ปี 2573 ซึ่งหากไม่นับรวมค่าใช้จ่ายของโครงการทรานฟอร์มเมชั่น กำไรสุทธิ จะอยู่ที่ 1,512 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.3 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อน

 “แม้เราจะต้องเผชิญกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ ที่มีความไม่แน่นอน ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ผู้บริโภคทั่วโลกใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง แต่ทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจของเรายังคงเติบโตได้ดี ทั้งกลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง และกลุ่มธุรกิจสินค้าเพิ่มมูลค่าและอื่นๆ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัว และดำเนินธุรกิจตามกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่ปี 2573 เพื่อบรรลุเป้าหมายยอดขาย 2.45 แสนล้านบาท (US$7billion) และเพิ่ม EBITDA เป็นสองเท่าภายในปี 2573" นายธีรพงศ์ กล่าว

สำหรับ ผลประกอบการตามกลุ่มธุรกิจของไทยยูเนี่ยน ปีที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์ของไทยยูเนี่ยนยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง จากปริมาณความต้องการสินค้าต่อเนื่องโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปที่สร้างยอดขายสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 68,412 ล้านบาท ขยายตัว 7.1 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อน จากอัตราการเติบโตของยอดขายในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และตะวันออกกลาง ราคาต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลงและยอดขายที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้กลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปมีอัตรากำไรขั้นต้นสูงถึง 19.1 เปอร์เซ็นต์

ส่วนกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง มียอดขายรวม 17,389 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตถึง 15.5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยได้ปัจจัยสนับสนุนจากกลยุทธ์เพิ่มสัดส่วนการขายสินค้ากลุ่มพรีเมียม รวมถึง ปริมาณความต้องการสินค้าในตลาดยุโรปและจีนที่ดีต่อเนื่อง ทำให้ปี 2567 กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงมีอัตรากำไรขั้นต้นขยายตัวสูงถึง 28.5 เปอร์เซ็นต์

ขณะที่กลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง มียอดขายรวม 42,226 ล้านบาท ปรับตัวลดลงราว 10.7 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากยอดขายที่ลดลง  แต่เมื่อพิจารณาอัตราส่วนกำไรขั้นต้นของกลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งพบว่ามีการฟื้นตัว 11.7 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

สะท้อนให้เห็นว่า การปรับโครงสร้างทางธุรกิจในสหรัฐอเมริกา สามารถสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจได้ดีขึ้นต่อเนื่อง และสุดท้ายคือกลุ่มธุรกิจสินค้าเพิ่มมูลค่าและอื่นๆ สามารถทำยอดขายได้ 10,406 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 5.2 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อน

ทั้งนี้ สัดส่วนยอดขายของไทยยูเนี่ยนตามภูมิภาค มาจากประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา คิดเป็นอัตรา 39.4 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้รวมทั้งหมด รองลงมาเป็น ยุโรป 30.0 เปอร์เซ็นต์ ไทย 11.0 เปอร์เซ็นต์ และ ภูมิภาคอื่นๆ อีก 19.6 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ ในเดือนธันวาคม 2567 บริษัทได้ดำเนินโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน ครั้งที่ 4 ในวงเงินไม่เกิน 3,000 ล้านบาท หรือจำนวน 200 ล้านหุ้น โดยจะเริ่มซื้อหุ้นคืนตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน 2568 ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 บริษัทฯ มีจำนวนหุ้นที่ซื้อคืนสะสมทั้งหมดอยู่ที่ 107 ล้านหุ้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ถือหุ้น รวมถึงช่วยเพิ่มกำไรต่อหุ้นให้ดีขึ้น

ไทยยูเนี่ยนในฐานะผู้นำด้านความยั่งยืนได้รับการจัดอันดับให้เป็นบริษัทอันดับ 1 ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารของโลก จากดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์  (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) ประจำปี 2567 ด้วยคะแนนรวมสูงสุด 85 คะแนน นับตั้งแต่ปี 2561 เราได้รับการจัดอันดับ 1 ถึง 4 ครั้ง

สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ นอกจากนี้ ไทยยูเนี่ยน ยังได้รับคัดเลือกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ให้เป็นหนึ่งใน “หุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings” ระดับ A ประจำปี 2567 ในกลุ่ม Agro & Food Industry อีกด้วย

“ปี 2568 ยังคงเป็นปีแห่งความท้าทาย ทั้งผลกระทบจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงดำเนินอยู่ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าของสหรัฐ และเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เราเชื่อมั่นว่าภายใต้กลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่ปี 2573 เราจะก้าวพ้นกระแสแห่งความผันผวน เพื่อสร้างโอกาส สร้างรากฐานธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้นำโลกในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร และโภชนาการเพื่อสุขภาพจากท้องทะเลได้ในที่สุด" นายธีรพงศ์ กล่าว

 

Click Donate Support Web 

PTG 720x100

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!