ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้กระทรวงการต่างประเทศแจ้งต่อสหภาพยุโรปเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีผลใช้บังคับ เพื่อให้ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับสหภาพยุโรปว่าด้วยการยอมรับแลสเซ-ปาสเซที่ออกโดยสหภาพยุโรปว่าเป็นเอกสารเดินทางที่สมบูรณ์มีผลใช้บังคับต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
1. โดยที่ปัจจุบันบุคลากรซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสหภาพยุโรปต้องใช้หนังสือเดินทางของประเทศตนเองในการตรวจลงตราหนังสือเดินทางประเภททูต ประเภทราชการและประเภทอัธยาศัยไมตรี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางการทูตหรือกงสุล หรือการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ หรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาเห็นว่า หากกำหนดให้มีหนังสือเดินทางสหภาพยุโรปเป็นการเฉพาะเพื่อใช้สำหรับการตรวจลงตราประเภททูต ประเภทราชการ และประเภทอัธยาศัยไมตรีได้นั้น จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่บุคลากรของสหภาพยุโรปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางการทูตหรือกงสุล หรือการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ หรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างประสิทธิภาพ เช่น การเข้ามาในประเทศไทยโดยเป็นแขกของรัฐบาลหรือพระราชอาคันตุกะ ฯลฯ ประกอบกับเพื่อให้สอดคล้องกับความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับสหภาพยุโรปว่าด้วยการยอมรับแลสเซ-ปาสเซ (Laissez-Passer) ที่ออกโดยสหภาพยุโรป ว่าเป็นเอกสารการเดินทางที่สมบูรณ์ซึ่งรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย ได้ลงนามในความตกลงฯ ดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 กระทรวงการต่างประเทศจึงได้เสนอขอแก้ไขกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 มาเพื่อดำเนินการ เพื่อกำหนดให้หนังสือเดินทางสหภาพยุโรปใช้เป็นเอกสารในการตรวจลงตราประเภททูต ประเภทราชการและประเภทอัธยาศัยไมตรี ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกัน อันทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานไทยเกี่ยวกับการตรวจลงตรา
ในหนังสือเดินทางสหภาพยุโรป และพิธีการตรวจคนเข้าเมืองของผู้ถือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรปมีความชัดเจน รวมทั้งจะช่วยเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรปและอำนวยความสะดวกให้เกิดการเยือนระดับสูง การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ และการหารือความร่วมมือในสาขาต่างๆ มากยิ่งขึ้น
2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 โดยปรับเพิ่มเฉพาะถ้อยคำว่า “หรือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรป” และ “หรือหน่วยงานสหภาพยุโรป” เพื่อให้สอดคล้องกับความตกลงฯ ดังนี้
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 |
ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ สคก. ตรวจเสร็จแล้ว |
|
ข้อ 3 การตรวจลงตราประเภททูต ให้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) การปฏิบัติหน้าที่ทางทูตหรือกงสุล (2) การปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ
|
● ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน | |
ข้อ 3 วรรคสอง “ทั้งนี้ ให้ผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตยื่นขอรับการตรวจลงตราต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย พร้อมกับหนังสือขอรับการตรวจลงตราสำหรับผู้นั้นจากกระทรวงการต่างประเทศ สถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศผู้ถือหนังสือเดินทางทูตหรือองค์การหรือหน่วยงานสหประชาชาติ แล้วแต่กรณี” |
“ทั้งนี้ ให้ผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูต หรือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรป ยื่นขอรับการตรวจลงตราต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย พร้อมกับหนังสือขอรับการตรวจลงตราสำหรับผู้นั้นจากกระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศผู้ถือหนังสือเดินทางทูต องค์การหรือหน่วยงานสหประชาชาติ หรือหน่วยงานสหภาพยุโรป แล้วแต่กรณี” (เหตุผล : เพิ่มหนังสือทางสหภาพยุโรป และหน่วยงานสหภาพยุโรป เพื่อให้บุคลากรซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสหภาพยุโรป สามารถใช้หนังสือทางสหภาพยุโรปตรวจลงตราเข้ามาในประเทศไทยได้ อีกทั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับความตกลงฯ ด้วย)
|
|
ข้อ 4 การตรวจลงตราประเภทราชการ
การตรวจลงตราประเภทราชการ ให้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการโดยผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางราชการต้องยื่นขอรับการตรวจลงตราต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย พร้อมกับหนังสือขอรับการตรวจลงตราสำหรับผู้นั้นจากกระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ หรือองค์การหรือหน่วยงานสหประชาชาติแล้วแต่กรณี |
● ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ 4 การตรวจลงตราประเภทราชการ ให้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ โดยผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ หนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรป ต้องยื่นขอรับการตรวจลงตราต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย พร้อมกับหนังสือขอรับการตรวจลงตราสำหรับผู้นั้น จากกระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ องค์การหรือหน่วยงานสหประชาชาติ หรือหน่วยงานสหภาพยุโรป (เหตุผล : เพิ่มหนังสือทางสหภาพยุโรป และหน่วยงานสหภาพยุโรป เพื่อให้บุคลากรซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสหภาพยุโรป สามารถใช้หนังสือทางสหภาพยุโรปตรวจลงตราเข้ามาในประเทศไทยได้ อีกทั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับความตกลงฯ ด้วย) |
|
ข้อ 10 การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี ให้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ 10 (1) “การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หรือหนังสือเดินทางราชการหรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการ เพื่อการอื่น นอกจากที่ระบุในข้อ 3 (1) หรือ (2) หรือข้อ 4” |
● ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 10 แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “(1) การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการ หนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรป เพื่อการอื่นนอกจากที่ระบุในข้อ 3 (1) หรือ (2) หรือข้อ 4” (เหตุผล : เพิ่มหนังสือทางสหภาพยุโรป เพื่อให้บุคลากรซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสหภาพยุโรป สามารถใช้หนังสือทางสหภาพยุโรปตรวจลงตราเข้ามาในประเทศไทยได้ อีกทั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับความตกลงฯ ด้วย) |
ทั้งนี้ ผู้ถือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรปสามารถยื่นขอรับการตรวจลงตราตามบทบาทและหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการพำนักในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ (ก.) ประเภททูต (ข.) ประเภทราชการ และ (ค.) ประเภทอัธยาศัยไมตรี โดยจะบังคับใช้กับบุคคลในครอบครัวที่ถือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรปด้วย
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 7 มกราคม 2568
1089